วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ตามรอยนักเดินป่า จาก สังขละบุรี ทุ่งใหญ่นเรศวร สู่ อุ้งผาง จ.ตาก




เดินป่า 100 กิโล จาก สังขละบุรี ตามหากะเหรี่ยงฤาษีที่ เลตองคุ ทะลุสู่อุ้มผาง



วันที่ 1
จากจุดเริ่มต้น สังขละบุรี ในยามเช้า ของฤดูฝน

ผ่านระยะทางเกือบ สองแสนก้าว หลายสิบลุ่มน้ำ ผ่านป่าเขานับไม่ถ้วน หมู่บ้านและวัฒนธรรมหลากหลาย ร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์สงคราม จากจุดเริ่มต้น หมู่บ้านกองม่องทะ อ.สังขละบุรี จนถึง บ้านเปิ่งเคิ้ง อ.อุ้มผาง   โดย Oat..ซ่าส์ เมื่อ 9  มิ.ย. 47, 14:46 น.



สายน้ำของเขื่อนเขาแหลม ที่เกิดจากสายน้ำมากมาย

ถึง สังขละบุรีในยามเช้า ในช่วงเริ่มต้นฤดูฝน ของพื้นที่ชายขอบแดนตะวันตก


หลากหลายชนชาติที่อาศัยลุ่มน้ำแห่งนี้เป็นที่พักพิง รวมทั้ง มอญ กะเหรี่ยง พม่า ฯลฯ

แวะพักคลายความตึงเครียด ของการเดินทางจาก กทม.


เริ่มเหนื่อยกันแต่เช้า เมื่อรถเข้า กองม่องทะ ติดหล่ม

จาก อ.สังขละบุรี เราติดต่อรถสองแถวที่ต้องฝ่าหนทางสุดแสนเละเทะในหน้าฝน จนต้องติดกันนานเกือบชั่วโมง ในช่วง 7 กม.ของถนนเข้า กองม่องทะ


เริ่มต้นกันซักที เมื่อมาถึงกองม่องทะ

เกือบ สิบเอ็ดโมงเช้า เราจึงฝ่าถนนโคลนเข้ามาถึง หมู่บ้านกองม่องทะ หมู่บ้านริมแม่น้ำรันตี ที่ๆเราจะเริ่มพึ่งพาเพียงแค่กำลังขาของเราเองจนกว่าจะออกจากป่าอีกทีทางฝั่งอุ้มผาง


จากกองม่องทะ จุดมุ่งหมายถัดไปคือ หมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง ที่อยู่*งออกไป 7 กม.

จากกองม่องทะเราตัดเข้าสู่ถนน 4 WD ที่ลื่นชันจากความชื้นของสายฝนเมื่อคืน ตัดผ่านสายน้ำของห้วยโรคี่ เข้าสู่หมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง ที่อยู่*งออกไป 7 กม. และพักกลางวันกันที่นี่ และซื้อเสบียงสะสมเพิ่มเติม และออกเดินทางต่อไป


ผ่านหน่วยป่าไม้ เกาะสะเดิ่ง ของทุ่งใหญ่นเรศวร

เนื่องจากเราออกเริ่มเดินสาย ทำให้การเดินของเราช้ากว่ากำหนดการไปตั้งแต่วันแรก


พัดแรมคืนแรกที่กลางป่าไผ่บริเวณช่องกะตะ

หมดวันแรก ถึงเวลา5โมงเย็นเรามาถึงจุดที่เรียกว่า ช่องกะตะ ก่อนจะขึ้นภูเขาที่สูงชัน จนกะเหรี่ยงเรียกทางช่วงนี้ว่า เทวดา(ยัง)ร้องไห้ เราจึงตัดใจจะไปถึงจุกหมายถัดไปที่ ทิไล่ป้า รวมแล้ววันนี้เราเดินออกมากได้ระยะทาง 14 กม.


กินอยู่กันแบบง่ายๆ กลางป่า

เราหุงหาอาหาร กินกันแบบง่ายๆ มื้อแรกยังอุดมสมบูรณ์ จากเสบียงที่เตรียมมา ก่อนจะแยกย้ายกันนอน เพราะเหนื่อยล้าจากการเดินทางมาตั้งแต่เมื่อคืน กลางป่าไผ่คืนนี้ยุงเยอะมาก อากาศตอนหัวค่ำอบอ้าว แต่พอใกล่รุ่งเช้าอากาศหนาวจนทุกคนขดไปอยู่ในถุงนอนอย่างไม่รู้ตัว


วันที่ 2

ลุยกันต่อ ตั้งแต่เช้า ขึ้นเนินที่แม้แต่เทวดายังร้องไห้

เช้ารุ่งขึ้นเราหุงหาอาหารกินกันแต่เช้า 8 โมงเช้าเศษๆเราออกเดินทางกันต่อ ขึ้นเขาที่กะเหรี่ยงให้ชื่อว่า เทวดาร้องไห้ แต่เราก็ผ่านกันมาได้แบบเหนื่อยแต่ไม่ยากเย็นอะไรนัก จนไปถึง หมู่บ้านทิไล่ป้า หมู่บ้านริมชายแดนไทย-พม่า ริมสายน้ำที่ชื่อ แม่นน้ำกษัตริย์ (กะเหรี่ยงเรียกว่า กะษะ) ก็ถึงเวลาเที่ยงเศษๆ



พักกินข้าวกลางวันริมสายน้ำกษัตริย์

แวะพักหุงหาอาหารที่ริมน้ำกษัตริย์ หาข้าวสารเป็นเสบียงตุนเพิ่มเติม และออกเดินทางต่อไป


แม่น้ำกษัตริย์ ที่มีจุดกำเนิดในไทย แต่ไหลออกไปสู่เมืองพม่า

สายน้ำสายนี้เป็นเส้นทางเดินทัพสงครามตั้งแต่สมัยโบราณกาล มีบันทึกแม้กระทั่งพระนเรศวรตั้งตำบลที่ชื่อ ตำบลกะษะ (กษัตริย์) เป็นจุดศูนย์กลางการลำเลียงทัพ ที่รินสายน้ำแห่งนี้ (แต่ปัจจุบันยังไม่สามาร๔บ่งบอกได้ว่าอยู่ที่ใด)

แจากทิไล้ป้าเราเดินย้อนไปตามห้วยกษัตริย์ใหญ่ จนถึงหน่วยป่าไม้ลังกา

หลังจากจัดการกับอาหารเที่ยงเรียบร้อยแล้ว เราออกเดินทางต่อไป ให้ไกลที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้เข้าใกล้จุดหมายของเรา หมู่บ้านเลตองคุ ให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้


เราเดินจนถึงพลบค่ำจึงจะมาได้ถึงหน่วยลังกา

ออกจากริมน้ำกษัตริย์ ก็เป็นเวลากว่าบ่ายสามโมง ระยะทาง 7 กม.ที่เหลือเราจึงเดินกันจนถึงพลบค่ำ จึงจะถึงหน่วยป่าไม้ลังกา ริมห้วยกษัตริย์ ที่ร้างซึ่งผู้คน เราจึงใช้สถานที่แห่งนี้ได้ตามอำเภอใจ


หุงหาอาหารโดยใช้ครัวของหน่วยฯลังกา

จากจุดนี้แผนที่ทหาร 1 :50000 ที่เรามี ก็ยังไม่มีข้อมูลของสถานที่ๆเราพักคืนนี้

ในวันที่ 2 นี้เราเดินทางมาได้เพิ่มอีก 21 กม. แต่ก็ยังช้ากว่ากำหนดการอยู่บ้าง เราต้องมาร์คเส้นทางเดินลงในแผนที่ทหาร เพราะเส้นทางตรงนี้ไม่มีบ่งบอกไว้ในแผนที่ทหารแล้ว



ความชุ่มชื้นของผืนป่าแถวนี้บ่งบอกออกมาโดยเฉพาะพื้นดินที่ปกคลุมด้วยตะไคร่น้ำ


บอกลาแม่น้ำกษัตริย์ และออกเดินทางไปสู่ลุ่มน้ำอื่น

วันที่ 3 เราออกเดินทางต่อ เราต้องบอกลาสายน้ำกษัตริย์ ออกเดินข้ามช่องเขา และลงสู่พื้นที่ราบข้างหน้าซึ้งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านจะแก หมู่บ้านที่ลึกที่สุดของเขตทุ่งใหญ่นเรศวร

กำลังข้ามช่องเขา ซึ่งเป็นทางรถเก่า ไปสู่ที่ราบของหมู่บ้านจะแก


กว่าจะถึงก็เล่นเอาหมดแรง

เกือบเที่ยงเราก็เจอกับร่องรอยอารยธรรมอีกครั้ง เมื่อเราเจอเกวียนเทียมวัว เราจึงอาศัยไปลงหมู่บ้านจะแก แม้จะไม่กี่ร้อยเมตร แต่นานๆจะเจอเกวียนซักทีก็ขอหน่อยเหอะ


หมู่บ้านจะแก แม้จะลึก แต่ความเจริญก็ยังไม่พลาดที่จะเข้ามาเยือน

มาถึงจะแกเราก็ตรงไปที่บ้านผู้ใหญ่เคอะโลว เพื่อขออาศัยชั่วคราว และ หาผู้ที่รู้ทางจากหมู่บ้านแห่งนี้สู่เลตองคุอีกทอดหนึ่ง


พักซ่อมบำรุงเท้ากันเสียหน่อย

เพิ่งจะมาได้ครึ่งทาง เท้าของแต่ละคนก็ออกอาการ เริ่มเจ็บ เริ่มพองกัน เพราะเส้นทางที่เดินนั้นยาวไกลและต้องเปียกจากการลุยน้ำเกือบทั้งวัน จนถึงตอนนี้เรารวมระยะทางจาก กองม่องทะมาได้ 45 กม. แล้ว

ได้เจอกับฤาษีตนแรก

วันนั้นที่บ้านผู้ใหญ่บ้านที่จะแก เราได้เจอกับฤาษีตนแรก เป็นฤาษีที่บำเพ็ญตนตามถ้ำ แต่ต่างกับฤาษีที่เราจะเจอที่เลตองคุอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้มีเวลาจะคุยด้วยสักเท่าไหร่ เพราะธุระที่เราต้องจัดการให้ได้ในวันนี้ยังมีอีกเยอะ


อีกหนึ่งคืนที่จะแก

เหตุที่ฝนตกลงมาขณะที่เรากำลังจะออกเดินทางกันต่อ เลยเป็นอันว่าวันนี้เราต้องยกเลิกการเดินภาคบ่าย แล้วนอนพักที่บ้านผู้ใหญ่ ที่จะแกนี้เอง กับข้าวของวันนั้นไม่พ้นหน่อไม้อีกแล้ว ที่หมู่บ้านแห่งนี้เค้ามีความเชื่อ ถือผีในการไม่เลี้ยงเป็ด ไก่ และไม่กินเนื้อสัตว์

สาวกะเหรี่ยงกับน้องน้ำฝนแสนน่ารัก

ผมบรรยายไม่เก่งเดี๋ยวให้พี่พล มาบรรยายเป็นกลอนดีกว่า


วันที่ 3

ออกเดินทางตามเส้นทางป่าไผ่

เราหลับสนิทกันเต็มที่ ตื่นแต่เช้า รีบออกเดินให้เร็วที่สุดชดเชยกับเวลาที่เสียไปกับวันก่อนๆ ทางเดินวันนี้ เป็นเส้นทางที่ไม่ชัน เราต้องเดินลงเป็นส่วนใหญ่ จากความสูง 630 ม. ของจะแก ไปสู่ความสูง 140 ม. ของลุ่มน้ำสุริยะ


ช่วงปลายของห้วยทีลู่ แตกออกเป็นสายน้ำตกเล็กๆ ไม่สูง นับร้อยๆ

ออกเดินมาได้ตั้งแต่ หกโมงเช้า จนถึงบ่าย 3 โมง เราต้องเดินผ่านสายน้ำทีลู่ ที่แตกออกเป็นสายน้ำเล็กๆ กว้างกว่า 300 เมตรกระจายตามป่าพรุที่มีต้นหวายเป็นหลัก ก่อนที่มันจะไปรวมกับแม่น้ำสุริยะ ใกล้ๆกับน้ำตกสุริยะ


ข้ามแม่น้ำสุริยะด้วยสะพานไม่ไผ่สูงระดับยอดไม้

จนกระทั่ง บ่าย 4 โมงเย็นเราเดินมาถึงแม่น้ำสุริยะ อีกสายน้ำที่เกิดในทุ่งใหญ่นเรศวร ไหลคดเคี้ยวผ่านป่าและหมู่บ้านมากมาย ก่อนจะตัดเข้าๆออกๆ ไทย-พม่า และลงสู่ทะเลที่พม่า และเขตแดนบริเวณนี้ยังไม่บ่งชัด จึงทำให้มีปัญหากันระหว่าง 2 ประเทศจวบจนปัจจุบัน

หน่วยป่าไม้เก่า สุริยะ ที่ถูกทิ้งร้างไว้เพราะการขับไล่ของทหารพม่า จน จนท.ต้องทิ้งศูนย์แห่งนี้ไป

สายน้ำแห่งนี้เป็นอีกเส้นทางเดินทัพของสงครามสมัยโบราณ ที่ซึ่งเป็นฐาน ตชด.ปัจจุบัน ยังพบร่องรอยของถ้วยชามเคลือบลาย "เขียวไข่กา" ที่ทำขึ้นในสมัยอยุธยา เป็นหลักฐานยืนยันถึงการเดินทัพผ่านเส้นทางนี้ได้เป็นอย่างดี


ฐานปฎิบัติการทางทหารที่ตั้งอยู่ริมสายน้ำสุริยะ


น้ำตกสุริยะ แม้จะไม่สูงแต่ความคงความยิ่งใหญ่ทางด้านประวัติศาสตร์


อีกมุมหนึ่งของน้ำตกสุริยะ

วันนี้เราสิ้นสุดการเดินเพียงเท่านี้(ก็เต็มที่แล้ว) อีก 24 กม. ที่เราเดินออกมาจากจะแกได้ในวันนี้ เป็นระยะที่น่าพอใจทีเดียวเพราะอีกอึดใจเดียวของวันพรุ่งนี้เราก็จะถึงหมู่บ้านเลตองคุแล้ว เราอาศัยนอนใกล้ๆหน่วย ตชด. บริเวณใกล้กับน้ำตกสุริยะ


เมื่อความมืดเริ่มมาเยือนที่น้ำตกสุริยะ

อาหารของเราวันนี้ ก็ยังหนีไม่พ้นหน่อไม้อีกแล้ว อาหารโปร*หลักของเราที่เป็นปลากระป๋องก็หมดลงเพียงเท่านี้ พรุ่งนี้เราคงต้องทุบหม้อข้าวไปหากินต่อที่ เลตองคุเสียแล้ว


วันที่ 5 ของการเดินทาง

เราออกเดินกันแต่เช้าเช่นเดิม บอกลาทหารที่หน่วยสุริยะ บ่ายหน้าออกเดินไปตามแม่น้ำสุริยะ ผ่านไร่ชาวกะเหรี่ยงที่ไม่รู้อยู่เขตไทยหรือพม่า



ตัดขึ้นจากแม่น้ำสุริยะ ก็ผ่านไร่ชาวบ้าน เพื่อมุ่งหน้าสู่เลตองคุ

เส้นทางวันนี้ไม่สูงชันตัดผ่านไร่และสายน้ำตก ไม่นานนักเพียง 2 ชม.เศษ เราก็ถึงหมู่บ้านเลตองคุ

ช้างและควาญช้าง ที่จ๊ะเอ๋กันระหว่างทาง


ถึงแล้วเลตองคุ

แทนที่เราจะมาดูหมู่บ้านเลตองคุ แต่พอมาถึงเรากลับเป็นฝ่ายโดนดูเสียมากกว่า เมื่อเด็กๆเกือบทั้งหมู่บ้านพุ่งสายตามาที่เราแทน

งาช้างล้ำค่าแห่งเลตองคุ

เลตองคุที่เราเรียกกันนั้น มีชื่อเต็มๆเดิมๆว่า ไล่ถ่องคู้ (ไล่ =หิน ,ถ่อง=น้ำตก,คู้=บน) ซึ่งแปลว่าหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนน้ำตกหิน(ปูน) เป็นหมู่บ้านขนาด 200 หลังคาเรือน และชาวบ้านที่นี่นับถือฤาษี หรือพูดอีกนับก็คือ ศาสนาพุทธ ที่นับถือฤาษีเป็นผู้นำทางศาสนา

3 คู่

งาช้างแกะสลักของเลตองคุนั้น มีด้วยกัน 3 คู่ด้วยกัน เก็บรักษาอยู่ในโรงเรือนไม้หลังเล็กๆ ใกล้กับบ้านของฤาษี ซึ่งห้ามผู้หญิงเข้าใกล้บริเวณงาช้าง 3 คู่นี้ แต่ให้ผู้ชายเข้าสักการะได้ แต่ห้ามเข้าในบริเวณโรงเรือนที่ยกพื้นสูงขึ้นมาระดับอก

ลวดลายพระพุทธเจ้าที่แกะสลักบนงาช้างเก่าแก่

งาช้าง 3 คู่นี้ มีอยู่ตั้งแต่ไหนนั้นไม่มีบันทึกที่จะทำให้รู้ได้ว่ามีอายุเก่าแก่สักแค่ไหน จึงยังเป็นปริศนาสืบทอดกันมา คู่กับตำแหน่งฤาษีที่เข้าสู่ชั่วคนที่ 10


นอแจ๊ะ ฤาษีตนที่ 10 แห่งเลตองคุ

การเดินทางเข้าพบฤาษีแห่งเลตองคุ ครั้งนี้เราได้พูดคุยซักถามท่านอยู่ประมาณครึ่ง ชม. ซึ่งพี่วินัย เป็นคนแปลภาษากะเหรี่ยงเป็นภาษาไทยโต้ตอบให้เราฟัง

ลูกศิษย์ที่ดำรงตนอยู่ในฤาษี

ในบ้านของฤาษี ที่เปรียบได้กับวัดของเรา มีลูกศิษย์อยู่ประมาณ 20-30 คน ซึ่งลูกศิษย์เหล่านี้จะต้องปฏิบัติตามกฏของฤาษีอย่างเคร่งครัด ที่ได้รับรู้มาคร่าวๆก็คือ ห้ามกินเนื้อสัตว์ที่มีเล็บ ห้ามดื่มสุรา หรือแม้กระทั่งนำสิ่งเหล่านี้เข้ามาในหมู่บ้าน ห้ามนอกใจภรรยา หรือเป็นชู้ จะต้องนุ่งห่มเสื้อผ้าที่เป็นสีพื้นเท่านั้น และเกล้าผมเป็นจุกอยู่บนหัว (ส่วนอื่นๆ มีอีก ประมาญ 10 กว่าข้อแต่จำไม่ได้)


ถ่ายรูปร่วมกัน


อลังการณ์น้ำตกเลตองคุ

จากหมู่บ้านเราเดินออกมากิโลเมตรเศษๆ ผ่านทางเข้าไร่ของชาวบ้านมา แล้วตัดลงสู่หน้าผา ไม่ไกล เราก็มาเจอกับน้ำตกขนาดใหญ่ น้องๆของทีลอซู


ใหญ่ขนาดไหนดูเอา


ถึงคราต้องลาจาก

คืนสุดท้ายของการเดินทาง ที่ช้ากว่ากำหนด 1 วัน เรานอนอยู่ที่บ้านร้างกลางหมู่บ้านเลตองคุ ที่เหมือนเป็นบ้านพักส่วนกลางของผู้มาเยือน เป็นคืนสุดท้ายที่เราจะอยู่กับลูกหาบที่มากับเราตั้งแต่กองม่องทะ และจะแก รวมถึงเจ้าตัวนี้ด้วย ที่ตั้งชื่อเล่นๆระหว่างทริปว่า "เจ้าจาละเม็ด" (ชื่อโดยตัวโน๊ต) ต้องส่งให้มันเดินกลับไปกับ พี่หมี พี่วี พี่บุญชู กลับไป กองม่องทะ ก่อนจะกลายเป็นหมาหลงที่เลตองคุนี่เสียก่อน เราต้องจับมันขังในห้องเสียก่อน เราจึง  เดินออกมา จากเลตองคุ ของเช้าวันที่ 6


กลับ

เช้าวันที่ 6 เราต้องเดินไปตามทางลื่นๆ ของฝนที่ตกอย่างหนักเมื่อคืน ด้วยระยะทาง อีก 15 กม. ถึงบ้านเปิ่งเคิ้ง

หลุดรูปจนได้

เส้นทางกลับเราเดินวกขึ้นเขาและตัดลงสู่ลำห้วยใหญ่


หลุดมาถึงเปิ่งเคิ้งได้เราก็ซัดก๋วยเตี๋ยวซะเต็มคราบ


เท้าที่เดินทางมา 100 กิโลเมตร

นับระยะทาง 6 วันที่เดินนั้น สามรถรวมกันได้ 100 กม. เลยทีเดียว แม้เส้นทางโดยรวมไม่สูงชันนัก แต่ก็ทำเอาเท้าของหลายๆคนเปิดเปิงไปตามๆกัน


ความอ่อนเพลียและเมารถที่ต้องเจอกันอีก 240 กว่า กม. จากเปิ่งเคิ้งถึง แม่สอด

ไม่ได้กลุ้มใจจนผูกคอตายนะ แค่หลับบน 2 แถว


เมฆหมอกที่ศูนย์อพยพอุ้มเปี้ยม

ขากลับผ่านอุ้มผางแมสอด ที่กำลังโดนพายุฝนกระหน่ำ ท้องน้ำเต็มไปด้วยโคลนสีแดง

จบ   จบการเดินทางซะที แต่อาจต้องมีอีกกระทู้เพื่อลงรูปสวยๆที่เก็บได้จากทริปนี้ครับ  "นู๋เข็ดแย้วววว คุงแม่ขา".....จนบัดนี้ยังไม่รู้ตัวเองว่าเดินเข้าไปได้ไงในป่าแบบนั้นตั้ง 100 ก.ม......ฝ่าเท้าของผมแตกพองน้ำเป็นแผ่นใหญ่ ทั้ง2ข้าง...เดินไม่ออก หยุดเดินไม่ได้ เพราะพอเริ่มเดินอีกครั้งก็จะเจ็บและแสบมากๆ โดนน้ำก็แสบ มันเป็นความทรมานที่หยุดยั้งไม่ได้....แต่เราต้องเดิน..เดินมันต่อไป เพราะถ้าไม่ได้ก็ไปไม่ถึง เป็นบททดสอบตัวเองที่ดีมากๆ(มากเกินไปหรือเปล่า อิอิ)......คนอื่นก็ระบมไม่ต่างไปจากผมหรอกครับ...
....."แล้วไปเดินทำไมอ่ะ???".....นั่นสิ ไปเดินทำไม...เหตุผลจริงๆผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม...??
....รู้แต่ว่าเจ้าน้องสาวตัวแสบมันชวนผมไป แล้วดันทะลึ่งรับปากมันไว้
....รู้ว่าผมผ่านทริปนรก 3 และ 5มาแล้ว (...แล้วไง??...มันทำให้ฮึกเหิมครับ)
....รู้ว่าเพื่อนๆทริปนรกไปด้วยกันหลายคน และอีกหลายคนเป็นพวกเดินถึก
....รู้ว่าทุกคนมีใจที่จะไป พร้อมไม่พร้อมไม่สำคัญ
....รู้ว่าจะต้องสนุก-สนุกมาก
....รู้ว่าถ้าเราถึงจุดหมายเราจะภูมิใจมากๆ
....รู้ว่าที่เลตองคุ เป็นที่ที่ผมอยากไปมากๆ
....รู้ว่ายังไม่มีใครทำได้แบบเรา
....รู้ว่าเพื่อนคงอึ้งถ้าบอกว่าเราเดิน100กม.ข้ามป่าข้ามจังหวัด
....รู้ว่าเราน่ะ...บ้า... 14 14 14
....รู้ว่าต้องลางานเพิ่มอีก 2 วัน...ฮือๆๆๆๆ19 19 19 19 19 ...เวรกรรมจริงๆ


หุหุ สำหรับ ความคิดเห็นที่ 65
ที่ว่า ....รู้ว่ายังไม่มีใครทำได้แบบเรา

โอ้..ไม่อยากบอกเลยนะครับว่า
พวกคุณไม่ใช่คนแรกที่เดินแบบนี้หรอกครับ
เส้นทางสายนี้มีชาวบ้านเขาเดินกันทุกปี
และก็มีนักเดินป่าหลายกลุ่มที่เขาเดินกันมาแล้ว

ถ้าเป็นเส้นทางสายที่ผมเคยไปซิ..ถึงจะบอกได้ว่าน้อยคนจะได้ไป
เริ่มจาก อ.สังขละบุรี - เดินเท้าจากปากทางเข้าไปยังหมู่บ้าน
สะเน่พ่อง -ต่อไปยังหมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง - แล้วเดินเข้าหมู่บ้านทิไล่ป้า
- แล้วข้ามแม่น้ำสุริยะตรงหน่วยตชด. เข้าไปเดินในประเทศพม่า (สมัยนั้นทหาร KNU ยังปกครองอยู่) ไปยังหมู่บ้านทิทาบ่อง - เพื่อเข้าไปขอใบผ่านทางที่ทิมอท่า - จากที่นี่ต่อไปยังหมู่บ้านเคอมาเคลอะ (เที่ยวต่อที่นี่อีกหลายคืน ได้ไปหมู่บ้านพากลอนี (หมู่บ้านมุสลิม) เส้นที่จะไปเมืองจะโด่ได้ ) - จากนั้นเดินออกมาที่บ้านเปิ่งเคลิ่ง - แล้วเข้าหมู่บ้านเลตองคุ (เดินฝั่งพม่านะครับ..เส้นเก่า) อยู่เที่ยวอีกหลายคืน จากนั้นก็กลับกทม. ใช้เวลาทริปนี้รวม 16 วัน (เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๙ นั่นคือครั้งแรก)
เลตองฯน้อย ตาใส ซบในอก
ไม่เคยพบ ยังยิ้มให้ ทักทายฉัน
แม้เป็นคน แปลกหน้า ไม่คุ้นกัน
ไม่เคยแบ่ง ชนชั้น ฉันและเธอ


สามกะเหรี่ยง สาวน้อย คอยใครอยู่
หน้าตาดู เปื้อนเปรอะ เลอะเทอะยิ่ง
ได้อาบน้ำ คงแปลงกาย เป็นเจ้าหญิง
ดูเพริดพริ้ง กว่าใคร ๆ ในเลตองฯ


มาดหนุ่มเท่ เลตองฯ มองแล้วแปลก
เสื้อผ้าแยก สีสัน ตัดกันสวย
บนศีรษะ ขมวดไว้ เป็นผมมวย
ไมตรีด้วย รอยยิ้ม อิ่มน้ำใจ

ขอสายน้ำ ใสเย็น กระเซ็นซ่า
นวดไหล่บ่า ล้างเหงื่อไคล ให้หายเหนื่อย
เดินกันมา เกือบร้อยโล สุดแสนเมื่อย
จะขอเปลือย กายลงแช่ แม่เลตองฯ

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก .. http://www.trekkingthai.com

เรวัติ  น้อยวิจิตร / สมเจตน์  สายแก้ว


1 ความคิดเห็น: