วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

สะพานมอญ...สะพานแห่งศรัทธา



สะพานอุตตมานุสรณ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานมอญ หรือ สะพานไม้มอญ เป็น สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาว 850 เมตร และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็ง ในประเทศพม่า[1] เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำซองกาเรีย ที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี


สะพานนี้สร้างขึ้นโดยดำริของ หลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ในปี พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2530[2] โดยใช้แรงงานของชาวมอญ เป็นสะพานไม้ที่ใช้สัญจรไปมาของชาวมอญและชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี[3]
ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 18.30 น. สะพานอุตตมานุสรณ์ได้พังทลายขาดเป็น 2 ท่อนในช่วงกลางสะพาน ความยาวประมาณ 30 เมตร เนื่องจากเกิดเหตุฝนตกหนักติดต่อกันนานถึง 3 วัน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลเชี่ยวกรากจากทุ่งใหญ่นเรศวร พัดขยะตอไม้ลงสู่แม่น้ำซองกาเลีย ปะทะกับเสาสะพานทำให้เกิดขาดกลาง[4] และเสียหายเพิ่มเป็น 70 เมตร ในเที่ยงของวันต่อมา[5]


หลังจากผ่านไป 1 ปี การซ่อมแซมสะพานแห่งนี้ก็ยังไม่เสร็จ และเกินสัญญาว่าจ้าง 120 วัน เนื่องจากมีปัญหาด้านบริษัทผู้รับเหมาที่มีปัญหาไม่สามารถนำไม้ที่ต้องขนส่งมาจากภาคอีสานมาซ่อมแซมได้ เนื่องจากเกรงว่าจะผิดกฎหมาย[6]


สะพานมอญ...สะพานแห่งศรัทธา
โดย...คุณกานติ์ชนิต  วรนัยพินิจ
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ
E-mail : kanchanit@trf.or.th

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)


          “สังขละบุรี” ถือเป็นเมืองชายแดนฝั่งตะวันตกของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า โดยมีแม่น้ำซองกาเลีย
(เป็นชื่อเรียกมาจากภาษามอญ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า“ฝั่งโน้น”) ที่มีต้นกำเนิดในประเทศพม่าไหลผ่านเพื่อหล่อเลี้ยงผู้คนสองฟากฝั่งแม่น้ำ และ
เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์มอญที่อาศัยอยู่ทั้งสองประเทศมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ตัวอำเภอสังขละบุรีตั้งอยู่บริเวณที่เรียกขานกันว่า
"สามประสบ" นั่นคือ บริเวณที่ลำน้ำสามสายมาบรรจบกัน ได้แก่ ซองกาเลีย บิคลี่ และรันตี ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแควน้อย ซึ่งแบ่งแผ่นดิน
อำเภอสังขละบุรีออกเป็นสองฟากฝั่ง ฝั่งหนึ่งคือ ตัวอำเภอสังขละบุรีเป็นศูนย์กลางของสถานที่ราชการและที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว อีกฝั่งหนึ่งคือ
หมู่บ้านมอญที่มีชาวมอญอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นจำนวนมากและตั้งรกรากมานานนับร้อยปี รวมถึงกลุ่มมอญที่เพิ่งอพยพเข้ามาใหม่ ส่งผลให้
สังขละบุรีเป็นเมืองที่มีความงดงามและมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาทิ ไทย มอญ ลาว พม่า กะเหรี่ยง เป็นต้น


           หากพูดถึง “อำเภอสังขละบุรี” เชื่อว่า ภาพแรกที่แวบเข้ามาในหัวของทุกคนต่างเห็นเป็นรูปเดียวกัน นั่นคือ รูปสะพานไม้ที่ทอดตัวยาวอยู่
เหนือแม่น้ำ ที่ฉากหลังรายล้อมด้วยธรรมชาติและขุนเขาอันเขียวขจีของต้นไม้นานาพันธุ์ และมีหมอกจางๆ ปกคลุมไปทั่วบริเวณ ซึ่งสะพานไม้
แห่งนี้ สะท้อนถึงมนต์เสน่ห์แห่งวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นี่ คือ สะพานอุตตมานุสรณ์ หรือเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า “สะพานมอญ” นั่นเองแต่เดิม


ชาวบ้านเรียกกันว่า “สะพานบาทเดียว” สร้างด้วยแพไม้ไผ่ต่อติดกัน ตรงกลางเป็นแพมีคนชักสะพานให้มาเชื่อมกัน และเก็บเงินผู้ที่สัญจรไปมา
คนละ 1 บาท ต่อมาพระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ซึ่งเป็นพระที่คนมอญและพุทธศาสนิกชนทั่วไปเคารพเลื่อม
ใส เป็นผู้คิดริเริ่มและผู้นำในการสร้างสะพานแห่งนี้ เนื่องจากเห็นว่า ชาวบ้านเดือดร้อนที่ต้องเสียเงินข้ามผั่งและไม่สะดวกนัก
          สะพานแห่งนี้ถือว่าเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยและเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็งในประเทศ
พม่า มีความยาวโดยประมาณ 850 เมตร และเป็นสะพานที่มีความหมายต่อชุมชนมอญเป็นอย่างมาก เนื่องจากสร้างขึ้นมาบนฐานของพลังแห่ง


ความศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่ออุตตมะ รวมทั้งเป็นสะพานมิตรภาพระหว่างชาวไทยและชาวมอญ จนก่อให้เกิดเป็นการร่วมแรงร่วมใจของชาวมอญ
ในการสร้างสะพานแห่งนี้ เมื่อก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยสะพานแห่งนี้จึงได้รับการขนานนามว่า "สะพานแห่งศรัทธา" เนื่องจากวิธีการก่อสร้างและขั้น
ตอนการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นแรงงานคนทั้งสิ้น ล้วนสะท้อนถึงพลังแห่งความศรัทธาของคนสังขละ ดังเช่น กลอนที่ปรากฏที่สะพานว่า

          “ชมสะพานมอญไม้ไม้ก่อนเก่า
สะพานมอญมอญจรัสพัฒนา

นับพันเสาพยุงค้ำย้ำแน่นนาน
อุตตมานุสาวรีย์ที่เดียวกัน”
                   คุณอมรเทวา 16 ม.ค. 54 (ทวี เนื่องอาชา, 2555)


          สะพานมอญนับเป็นหนึ่งในภาพที่คลาสสิกที่สุดภาพหนึ่งของเมืองไทย เต็มเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ของแผ่นไม้แต่ละแผ่นที่หลอมรวมกันจนกลาย
เป็นศิลปะบนสะพานที่มีความงดงามโดยไร้การปรุงแต่งและมีความเฉพาะตัว อย่างไรก็ตามด้วยความที่เป็นสะพานไม้ที่ตั้งอยู่กลางแดดและฝนและ
มีผู้คนสัญจรไปมาอยู่ทุกวันยาวนานกว่า 20 ปี ทำให้สะพานแห่งนี้ทรุดโทรมจนต้องซ่อมแซมสะพานอยู่เป็นระยะๆ และต่อจากนี้คงจะได้เห็นความ
เปลี่ยนแปลงของสะพานไม้แห่งนี้พร้อมๆ กับความเจริญเติบโตของเมืองสังขละบุรี เพราะเป็นดินแดนที่หมายปองของนักท่องเที่ยวที่ต้องการ
สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งวิถีมอญ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความเจริญทางวัตถุที่ย่างกรายเข้ามาสู่ชุมชนจะไม่สร้างความเสื่อมคลายให้กับน้ำใจอันดีงามของ
คนสังขละไปด้วย เหล่านี้ล้วนเป็นเสน่ห์ของเมืองแห่งสายน้ำ ขุนเขา และผืนป่าอันอุดมแห่งนี้




เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

ขอบคุณการเดินทางและเรื่องเล่าดีๆ จาก
น้องวิษณุ และเพื่อนๆ ไกด์ตัวน้อยๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวและความงดงามของสะพานมอญ
www.lovelikejourney.com
http://www.paiduaykan.com
http://www.oknation.net
http://travel.thaiza.com
UnseenKanchanaburi/ www2.kru.ac.th/
http://th.wikipedia.org/wiki/พระราชอุดมมงคล_(เอหม่อง_อุตฺตมรมฺโภ)
ทวี เนื่องอาชา. 2555. สะพานแห่งความสามัคคี สายธารแห่งน้ำใจ. เข้าถึงใน http://www.oknation.net/blog/print.php?id=785316
http://www.phudoilay.com/central/kanchanaburi/Sangkhlaburi.php#.UQeMqb_ZbxU



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น